วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เเบบฝึกหัด วันที่ 27/05/2554

1.จงอธิบายวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างละเอียด

ตอบ ... มนุษย์มีการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยี ต่างๆเพื่อการสื่อสารมาเป็นเวลานานนับพันปี จากภาพที่ 1 จะเห็นว่า ในระยะแรกนั้น มนุษย์ใช้เทคโนโลยีที่ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติ เช่น แผ่นปาปีรัส การตีกลอง การเป่าเขาสัตว์ จนกระทั่งมีการประดิษฐ์หนังสือพิมพ์ขึ้นประมาณ 59 ปีก่อนคริสตกาล การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการส่งสัญญาณ โทรเลขในปี ค.ศ. 1838 และการเกิดขึ้นของวิทยุกระจายเสียงใน ค.ศ. 1848 ในขณะเดียวกันนักประดิษฐ์ส่วนหนึ่งก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขึ้นมา แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้ทั่วไป สื่อโทรทัศน์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1927 และช่วงทศวรรษที่ 1960s (ระหว่าง ค.ศ. 1960 – 1969) คอมพิวเตอร์ก็ถูกนำมาใช้แพร่หลายมากขึ้น และมีการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายในเวลาต่อมา เทคโนโลยีที่เรียกกันว่าเป็นสื่อสมัยใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1983 และกลายเป็นเทคโนโลยีที่ปฏิวัติโลกการสื่อสารเลยทีเดียว

ในส่วนของเทคโนโลยีโทรศัพท์ไร้สายนั้น ยุคแรกของโทรศัพท์ไร้สายอยู่ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980s (ระหว่าง ค.ศ. 1980 – 1989) เทคโนโลยีโทรศัพท์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วพร้อมศักยภาพที่สูงขึ้น ก้าวไปสู่โทรศัพท์ยุคที่ 2 และ 3 และ 4 ซึ่งทำให้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็วทันใจ ด้วยเทคโนโลยีที่มีคุณสมบัติในการเคลื่อนที่ได้ (mobility) ตลอดเวลา สามารถรับส่งข้อมูลได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ หรือรับฟังรายการวิทยุและรับชมรายการโทรทัศน์ได้จากโทรศัพท์ที่อยู่ในมือเรา เท่านั้น


2. จงระบุองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ ... องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ

1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)

ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ

อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)

อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล

หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล

หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล

หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต


3.คุณลักษณะของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีมีอะไรบ้าง

ตอบ ... 1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) 2. ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) 3. ความสมบูรณ์ (Completeness) 4. การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance) 5. ตรวจสอบได้ (Verifiability)

4. จงบอกประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศมาอย่างน้อย 5 อย่าง

ตอบ .. 1.ใช้ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล 2.สามารถจัดการสารสนเทศเหล่านั้นในลักษณะเชิงระบบ 3.สามารถจ่ายเงินซื้อสินค้าด้วยบัตรเครดิต เบิกเงินด้วยบัตรเอทีเอ็ม การโอนย้ายข้อมูลในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวข้องกับ 4.ช่วยให้มนุษย์มีความสะดวกสบายขึ้น 5.-ช่วยประหยัดเวลา
-ช่วยในการทำงาน

5. จงบอกภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศความความเข้าใจ

ตอบ... อันตรายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวเข้ามาใน ชีวิตประจำของมนุษย์มากขึ้น ทั้งในระดับบุคคลจนถึงองค์กร และระดับชาติ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันดีเกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่สิ่งใดก็ตามไม่ใช่มีเฉพาะด้านดีเพียงด้านเดียว เทคโนโลยีสารสนเทศก็เช่นกัน ย่อมมีผลกระทบต่อมนุษย์และองค์กรในด้านร้ายได้เช่นกัน โดยส่วนมากอันตรายจากไอที มักจะเกี่ยวข้องกับ
การขัดขวางการใช้ไอทีในเวลาที่ต้องการใช้งาน
การริดรอนระบบสารสนเทศ
การสร้าง/ส่งข้อมูลลวง
การล้วงข้อมูลมาใช้งาน
ซึ่ง อันตรายดังกล่าวมีผลกระทบได้ตั้งแต่ระดับเล็ก จนถึงระดับชาติได้ ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวสามารถกระทำได้ทั้งจากระดับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบการติดต่อสื่อสาร และบุคคลภายในองค์กรนั้นๆ โดยสามารถสรุปรูปแบบการก่อเหตุให้เกิดอันตรายได้ดังนี้
ผู้ใช้เถื่อน - ได้แก่ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงและใช้งานระบบ แต่อาศัยความสามารถพิเศษทางด้านเทคโนโลยีทำการเจาะระบบป้องกันต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลักลอบล้วงข้อมูล ทั้งที่เป็นความลับและไม่ใช่ความลับ และอาจจะก่อความเสียหายให้กับข้อมูลทั้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูล จนถึงการลบข้อมูล และการทำลายระบบ
ผู้ใช้ภายในระบบ - ได้แก่ผู้ใช้ที่มีสิทธิในระดับ แต่เป็นสายหรือทำตัวเป็นผู้ก่อการร้ายเสียเอง

6.ปัจจัยที่ทำให้เกิความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้

ตอบ ... เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่

1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่ง

องค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงา

ตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น

2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ใน

องค์การจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่

หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์การแล้วจะทำให้เกิดปัญหา

ต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ

3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศ

เข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลว

ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำ

เป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ

สำหรับสาเหตุของความล้มเหลวอื่น ๆ ที่พบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น

ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule overruns)

นำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือยังไม่ผ่านการพิสูจน์มาใช้งาน (New or unproven technology)

ประเมินแผนความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ถูกต้อง

ผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vendor) ที่องค์การซื้อมาใช้งานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรับผิดชอบ

ระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปี



นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้าน

ผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ

1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวม

ทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาทและความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิด

ชอบของตนให้ลดน้อยลง จนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจาก

เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากไม่มั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้

กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ จนเกิดสภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยี

สารสนเทศ

3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้ขาดความ

เสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้เป็น

อุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิชา การโปรเเกรมเว็บ 1

แบบฝึกหัดบทที่ 1
ตอนที่ 1 จงเติมคำหรือข้อความลงในช่องว่าง
1. อินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกกันสั้นๆ คือ
- เน็ต
2. ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ตมีลักษณะอย่างไร
- ไคลเอนท์-เซิร์ฟเวอร์
3. ”ไคลเอนท์-เซิฟเวอร์” (Client-server) คืออะไร
- มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าเป็นเซร์ฟเวอร์
4. ชื่อที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเทอร์ที่ใช้ในอินเตอร์เน็ตเรียกกันว่าอย่างไร พร้อมยกตัวอย่าง
- “ไอพี แอดเดรส” เช่น ระบบไคลเอนท์-เซิร์ฟเวอร์ในอินเทอร์เน็ต และไอพีแอดเดรส
5. บอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตมาอย่างน้อย 5 อย่าง
- คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกันได้ทั่วโลกทำให้เกิดความสะดวกในการเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ
6. ยกตัวอย่างภัยจากอินเทอร์เน็ตที่มีต่อเยาวชนไทยในปัจจุบันมา 3 ข้อ
- 1.สื่อลามกผ่านอินเทอร์เน็ต 2.การแชทสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต 3.การติดเกมณ์ออนไลน์
7. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Webหรือ WWW หรือ W3) คืออะไร
- คือ เว็บ สามารถให้บริการข้อมูลได้ทั้งในรูปแบบข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง รวมทั้งวีดีโอ
8. รูปแบบของ FTP แบ่งได้เป็นกี่แบบอะไรบ้าง(World Wide Web
- 1. Download คือ การคัดลอกข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์
2. Upload คือ การคัดลอกข้อมูลในเครื่องของผู้ใช้ไปไว้ที่เซิร์ฟเวอร์
9. เว็บราวเวอร์ (Wed Browser) หมายถึงอะไร
- คือ โปรแกรมที่ใช้เปิดเว็บเพจ หรือเรียกสั้นๆว่า “บราวเวอร์”
10. URL (Uniform Resource Locator) คืออะไร ยกตัวอย่างรูปแบบ URL
- การเข้าถึงข้อมูลใดๆในอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นเว็บเพจ หรือไฟล์ประเภทอื่นๆจะต้องรู้ที่อยู่ของข้อมูลนั้น




ตอนที่ 2 จงทำเครื่องหมายกากบาท ลงหน้าข้อทีถูกต้องที่สุด

1. “ไอพีแอดเดรส” ในอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนข้อใด
ตอบ ค. เลขที่บ้าน

2. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ตรงกับข้อใด
ตอบ ข.เครื่องแม่ข่าย

3.ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต
ตอบ ข. ส่งพัสดุภัณฑ์

4. เวิลด์ไวด์เว็บเป็นแหล่งข้อมูลขนาดยักษ์จะพบข้อมูลประเภทใดบ้าง
ตอบ ก. เว็บไซต์รวบรวมลิงค์ไปยังเว็บไซต์อื่น

5. ชื่อที่อยู่ของ E-mail เรียกกันว่าอย่างไร
ตอบ ค. E-mail Address

6. FTP ย่อมาจากข้อได
ตอบ ง. File Transfer Protocol

7. ข้อใดคือความหมายของ FTP
ตอบ ค. การโอนย้ายข้อมูล


8. การคัดลอกข้อมูลมาจากเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องผู้ใช้หมายถึงอะไร
ตอบ ข. Download

9. การคัดลอกข้อมูลในเครื่องของผู้ใช้ไปไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ หมายถึงข้อใด
ตอบ ก. Upload

10. ข้อใดหมายถึงการให้บริการแบบทางไกล
ตอบ ค. Remote

11. เว็บเพจ (web Page) หมายถึงข้อใด
ตอบ ข. ไฟล์ 1 ไฟล์ คือเว็บเพจ 1หน้า

12. เว็บไซต์ (Web Site) หมายถึงข้อใด
ตอบ ก. กลุ่มของเว็บเพจหลายหน้า

13. โฮมเพจ (Homepage) หมายถึงข้อใด
ตอบ ค. เว็บเพจหน้าแรก

14. เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) คือข้อใด
ตอบ ง. ทำหน้าที่เก็บเว็บไซต์

15. ข้อใดคือหน้าที่หลักของโปรแกรมเว็บบราวเซอร์
ตอบ ก. เป็นตัวแปลคำสั่งของไฮเปอร์เท็กซ์

วิชา สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

วิชา ระบบฐานข้อมูล

แบบฝึกหัดบทที่ 1

ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน และนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน


ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน รูปแบบเป็นระเบียบแบบแผน และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน


ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) Database Management System หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่ออำนวยความ สะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล เสมือนเป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ใช้กับฐานข้อมูล


---------------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------------
06/07/2554

1. สรุปเนื้อหาหน่วยที่ 1 ลงในบล็อค

ฐานข้อมูล (Database) คือข้อมูลจำนวนมากที่มีการจัดเก็บไว้อย่างระเบียบในลักษณะของตารางเเละข้อมูลเเต่ละตารางที่มีอยู่นั้นต่างมีความสัมพันธ์กันซึ่งในการสร้างตารางเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับเเรก หรือ เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะต้องนำไปใช้งานต่อไป
ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS)Database Management System
หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะ ที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่ออำนวยความ สะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล
เสมือนเป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ใช้กับฐานข้อมูล

ประโยชน์ในการใช้ระบบฐานข้อมูล 1.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล 2.ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล
3.ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล 4.สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ 5.มีความปลอดภัย 6.ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย
ข้อเสียในการใช้ระบบฐานข้อมูล 1.เสียค่าใช่จ่ายสูง 2.เกิดความสูญเสียข้อมูลได้
ระดับหน่วยของข้อมูล
บิท (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
ไบท์ (Byte) หมายถึง เกิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักษร
เขตข้อมูล หรือ ฟิลด์ (Field)หรือ แอตทริบิวต์ (Attribute)หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบด้วยหลาย ๆ ตัวอักษร
ระเบียน หรือ เรคอร์ด (Record)หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน
แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำระเบียนหรือเอนทิตี้หลาย ๆ ระเบียนมารวมกันเป็น

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)คือ การรวบรวมเอนทิตี้ที่อยู่ในระบบที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน เข้าไว้ด้วยกัน
กฎการ (Normalization)คือ กฎที่ใช้ในการออกแบบตาราง เพื่อลดความซ้ำซ้อน แก้ไขตารางได้ง่าย ใช้กฎ Normalization 3 ข้อ
กฎที่ใช้ในการออกแบบตาราง

1. กฎข้อที่ 1 (First Normal Form : 1NF) เป็นความสัมพันธ์หนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-One Relationships)

2. กฎข้อที่ 2 (Second Normal Form : 2NF)
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-Many Relationships)

3. กฎข้อที่ 3 (Third Normal Form : 3NF)
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-Many Relationships)

4. กฎข้อที่ 4 บอยส์และคอดด์ (Fourth Normal Form) (Boyce/Codd Normal Form : BCNF)จะต้องไม่มีการขึ้นต่อกันแบบเชิงกลุ่ม

หลักการออกแบบฐานข้อมูล
1.วัตถุประสงค์ในการสร้างระบบฐานข้อมูล
2.ต้องการใช้เพื่อทำอะไร และต้องการอะไรบ้างจากระบบนี้
3.ถามความต้องการของผู้ใช้ ต้องการข้อมูลอะไรเข้าสู่ระบบ และผลลัพธ์ต้องการอะไรบ้าง
4.วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด
5.จัดกลุ่มข้อมูลที่ต้องการเก็บให้อยู่ในรูปแบบตาราง
6.วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละตาราง กำหนดเขตข้อมูลให้ครบถ้วน



2. ทำการวัดเเละประเมินผลการผ่านจุดประสงค์

- ตอนที่ 1
1. ตอบ ข.
2. ตอบ ก.
3. ตอบ ก.
4. ตอบ ค.
5. ตอบ ข.
6. ตอบ ข.
7. ตอบ ค.
8. ตอบ ก.
9. ตอบ ง.
10.ตอบ ก.

- ตอนที่ 2
1. ตอบ ช.
2. ตอบ จ.
3. ตอบ ซ.
4. ตอบ ญ.
5. ตอบ ฌ.
6. ตอบ ก.
7. ตอบ ค.
8. ตอบ ข.
9. ตอบ ง.
10. ตอบ ฉ.


- ตอนที่ 3

1. ตอบ ฐานข้อมูล(Database)คือข้อมูลจำนวนมากที่มีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบในลักษณะของตาราง ข้อมูลแต่ละตารางที่มีอยู่นั้นมีความสัมพันธ์กัน

2. ตอบ 1.ลดความซับซ้อนของข้อมูล 2.ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล
3.ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล 4.สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
5.มีความปลอดภัย

3. ตอบ 1.Table ใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งหมด
2.Queries ช่วยค้นหาหรือสร้างแบบสอบถามข้อมูล
3.Froms แบบฟอร์มในการทำงาน สำหรับจัดการกับข้อมูลแทนการจัดการในตาราง

4. ตอบ ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ว่าต้องใช้ข้อมูลเรื่องใด ใช้เพื่อทำอะไร ต้องการอะไร สอบถามความต้องการจากผู้ใช้ วิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นจัดเป็นกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละตาราง วิเคราะห์โครงสร้างข้อมูล กำหนดชนิดข้อมูล กำหนดความสัมพันธ์

5. ตอบ งานทะเบียน เพราะว่าเป็นงานที่ทำเกี่ยวกับประวัติของพนักงานหรือนักเรียนทั้งหมด ซึ่งมีข้อมูลต่างๆหลายอย่าง
---------------------------------------------------------------------------
27/06/2554
ตอนที่ 1
1.ข้อใดกล่าวถึงความหมายของตาราง (Table) ได้ชัดเจนที่สุด
ตอบ ก. ฐานข้อมูลใน Access
2.ข้อใดต่อไปนี้ กล่าวผิด
ตอบ ง. Attachment เป็นชนิดข้อมูลสาหรับสร้างจุดเชื่อมโยงไปยังไฟล์
3.ฟิลด์ (Field) หมายถึงอะไร
ตอบ ค. คอลัมน์
4.เรคอร์ด (Record) หมายถึงอะไร
ตอบ ข. แถว
5.ชนิดข้อมูลแบบข้อความ (Text) สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุดกี่ตัวอักษร
ตอบ ค. 255
6.ถ้าต้องการกำหนดฟิลด์ในการเก็บข้อความจำนวนมากๆ จะต้องเลือกชนิดข้อมูลแบบใด
ตอบ ก. Memo
7.มุมมองที่ใช้ในการสร้างตารางด้วยการออกแบบเองคือมุมมองใด
ตอบ ก. Design View
8.ชนิดความสัมพันธ์ของตารางมีกี่แบบ
ตอบ ค. 255
9.ข้อใดต่อไปนี้ ไม่สามารถ นามาประกอบในการตั้งชื่อฟิลด์ข้อมูลได้
ตอบ ค. 4 แบบ
10.ถ้าต้องการเรียงลาดับข้อมูลในตารางจากน้อยไปหามาก จะต้องใช้เครื่องมือใด
ตอบ ก. Ascending





ตอนที่ 2
1. Field ฌ. ข้อมูลในแนวคอลัมน์
2. Record ง. ข้อมูลในแนวแถว
3. Memo จ. เก็บข้อมูลประเภทข้อความที่มีความยาวมาก ๆ
4. OLE Object ข. เก็บข้อมูลประเภทรูปภาพ
5. Currency ซ. เก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลขทางการเงิน
6. Attachment ญ. เก็บเอกสารและแฟ้มไบนารี่ทุกชนิดในฐานข้อมูล
7. Input Mask ก. กำหนดรูปแบบในการป้อนข้อมูล
8. Format ฉ. กำหนดรูปแบบการแสดงข้อมูล
9. Descending ช. เรียงลาดับข้อมูลจากมากไปหาน้อย
10. Ascending ค. เรียงลาดับข้อมูลจากน้อยไปหามาก


ตอนที่ 3
จงอธิบายถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างตาราง
ตอบ การสร้างตารางมีประโยชน์มหาศาลเราสามารถนำมาประยุกต์นำไปใช้ได้หลายอย่าง เพื่อเป็นการนำตารางมาใช้ในการทำงานข้อฐานข้อมูลและเป็นการลดความซ้ำซอนของข้อมูล
จงบอกถึงคุณสมบัติในการเลือกฟิลด์ข้อมูลที่จะนำมาเป็นคีย์หลัก (Primary Key)
ตอบ ฟิลด์ที่มีข้อมูลในเรคอร์ดที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อเป็นตัวกำหนดให้ทุกเรคอร์ดแตกต่างกันและเป็นฟิลด์ที่ไม่เป็นค่าว่าง คือจะต้องมีค่าอยู่เสมอ เช่นรหัสพนักงาน รหัสประจาตัวนักเรียน เป็นต้น
อธิบายถึงความแตกต่างในการสร้างตารางด้วยมุมมองการออกแบบ (Table Design) และมุมมองแผ่นตารางข้อมูล (Datasheet View)
ตอบ มุมมองแผ่นข้อมูล เป็นมุมมองที่แสดงข้อมูลจากตาราง ฟอร์ม แบบสอบถาม วิว หรือ Stored Procedure ในรูปแบบของแถวและคอลัมน์ในมุมมองแผ่นข้อมูล คุณสามารถแก้ไขเขตข้อมูล เพิ่มและลบข้อมูล และค้นหาข้อมูลได้
มุมมองออกแบบ เป็นมุมมองที่แสดงการออกแบบของวัตถุฐานข้อมูลต่อไปนี้ ได้แก่ ตาราง แบบสอบถาม ฟอร์ม รายงาน และแมโครในมุมมองออกแบบคุณสามารถสร้างวัตถุฐานข้อมูลใหม่และปรับเปลี่ยนการออกแบบของวัตถุที่มีอยู่แล้วได้
4. จงบอกขั้นตอนในการสร้างตารางมุมมองการออกแบบว่ามีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ 1. คลิกที่แท็บ Create
2. เลือกปุ่มคาสั่ง (Table Design) ในกลุ่มของ Tables จากนั้น Access จะเปิดตารางข้อมูลเปล่าในมุมมองการออกแบบขึ้นมาให้
3. กำหนดฟิลด์ข้อมูล แล้วกด Tab เพื่อเลื่อนไปยังช่องถัดไป
4. เลือกชนิดข้อมูล
5. กำหนดคาอธิบายฟิลด์
6. กำหนดคุณสมบัติของฟิลด์เพิ่มเติม จากนั้นทาข้อที่ 3 ถึงข้อที่ 6 จนครบทุกฟิลด์ที่ต้องการ
7. คลิกปุ่ม Save จาก Quick Access เพื่อบันทึกตาราง
8. กำหนดชื่อตาราง
9. คลิกปุ่ม OK
10. จากนั้นจะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ให้กำหนดคีย์หลัก (Primary Key) ถ้าคลิกปุ่ม Yes โปรแกรมจะกำหนดฟิลด์ใหม่ขึ้นมาให้ซึ่งเป็นคีย์หลักชื่อว่า ID แต่ถ้าคลิกปุ่ม No จะให้เรากำหนดคีย์หลักเองในภายหลัง ในที่นี้ให้คลิกปุ่ม No
5. ในการสร้างตารางแม่แบบ (Template) มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร
ตอบ ข้อดีคือ
1. เร็ว เพราะนำมาใช้งานได้เลย
2. ไม่เสี่ยง เพราะ เห็นทั้งคุณภาพและราคาก่อนตัดสินใจ
ข้อเสียคือ
1. อาจจะมีการซ้ำกับคนอื่น ที่ซื้อใช้เหมือนกัน หรือ ก็อบปี้ นำมาใช้เหมือนกัน
2. มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองน้อย

วิชา การโปรเเกรมคอมพิวเตอร์ 1

วิชาการออกเเบบเเละพัฒนาเว็บ

แบบฝึกหัดที่1

ระบบคอมพิวเตอร์(computer system)แบ่งออกเป็น 3 สวนหลักๆที่สำคัญ คือ
1. Hardware (ตัวเครื่อง) ได้แก่
- จอภาพ
- คีย์บอร์ด
- CPU
- เมาส์
- สแกนเนอร์
- แทรกบอลล์
- จอยสติ๊ก
- ตัวขับจานแม่เหล็ก
- ตัวขับ ซีดี-รอม
- ไมโครโฟน
- กล้องวิดีโอ
- เครื่องอ่านรหัสแท่งหรือบาร์โค้ด
2. Software (โปรแกรม) แบ่งเป็น 2 อย่างได้แก่
2.1 System Software ได้แก่
- OS
- Utility
- Translation
- Diganostic
2.2 Application Software ประกอบด้วย 2 อย่าง ได้แก่
2.2.1 User Programs (ผู้ใช้เขียนเอง) เช่น
- ภาษา C
- Visual Basic
- Pascal
- C++
- html
- Flash
2.2.2 Package Programs
- เกมส์
- Windows
- MS-office
- PhotoShop
- PhotoScape
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
3. People ware (บุคลากร) ได้แก่
- Programmer
- System Analysis
-เจ้าหน้าที่กราฟิกดีไซน์
- เจ้าหน้าที่สารสนเทส (IT support)
- Application Support
- เจ้าหน้าที่ Admin และ Project co.




บทที่1
Microsoft Office Word 2007
- การเปิดโปรแกรม Microsoft Office Word 2007Word 2007
การสร้างเอกสารด้วย Microsoft Office Word 2007 เรียกสั้น ๆ ว่า “Word” เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้พิมพ์เอกสารต่างๆ วิธีการเรียกใช้โปรแกรมทำได้ดังนี้
1. คลิกปุ่ม Start
2. คลิกที่ All Programs
3. คลิกที่ Microsoft Office
4. คลิกที่ Microsoft Office Word 2007
- ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft Office Word 2007
จะมีแถบเครื่องมือเพิ่มขึ้นมา ทำให้เรียกใช้งานได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. แถบเครื่องมือลัด (Quick Access Toolbar) สำหรับเก็บเครื่องมือที่ใช้งานบ่อย เลื่อนเม้าส์ชี้ที่ปุ่มจะมีคำอธิบายแต่ล่ะปุ่ม เรียกแถบคำอธิบายว่า “Tooltip”
2. ปุ่มกำหนดเครื่องมือด่วนเอง ทดลองคลิกที่ปุ่มนี้ดูคำสั่งภายใน เลือกรายการย่อ Ribbon ให้เล็กที่สุด Ribbon จะถูกซ่อน ให้คลิกรายการย่อ Ribbon ให้เล็กที่สุด (ซ้ำ) จะปรากฏแถบ Ribbon ตามเดิม หรือกดคีย์บนแป้นพิมพ์ Ctrl + F1 เพิ่มแสดงหรือซ่อนแถบเครื่องมือ Ribbon
3. ไตเติ้ลบาร์ (Title Bar) แสดงชื่อโปรแกรมและชื่อไฟล์เอกสารที่เปิดใช้งานอยู่
4. คอนโทรลเมนู (Control Menu) ปุ่มควบคุมการทำงานของหน้าต่างโปรแกรม
5. เมนูบาร์ (Menu Bar) แสดงรายการคำสั่งต่าง ๆ ของโปรแกรม Word 2007 ให้ทดลองคลิกเมนูหน้าแรก และคลิกเมนูแทรก เมนูเค้าโครงหน้ากระดาษ เมนูการอ้างอิง เมนูการส่งจดหมาย เมนูตรวจทาน เมนูมุมมอง และเมนู Add-In จะเปลี่ยนตามแต่ละเมนู
6. ทูลบาร์หรือริบบอน เป็นแถบเครื่องมือเก็บคำสั่งที่ใช้งาน ช่วยให้การทำงาน ง่ายขึ้น
7. ไม้บรรทัด ใช้แสดงระยะต่างของเอกสาร
8. เครื่องหมายเคอร์เซอร์ (Cursor) เส้นตรงกระพริบ บอกตำแหน่งการเริ่มพิมพ์ข้อความ
9. เมาส์พอยเตอร์ (Mouse Pointer) เรียก ไอบีม I-beam แสดงที่อยู่ของเมาส์
10. มุมมองเอกสาร (View Button) แสดงมุมมองของเอกสาร ว่าเป็นสถานะแบบใด
11. ปุ่มย่อ/ขยายเอกสาร แสดงมุมมองของเอกสาร คลิกปุ่ม – หน้าต่างเอกสารจะย่อมุมมอง หรือคลิกปุ่ม + หน้าต่างเอกสารจะขยาย
12. ปุ่มเลื่อนจอภาพ ใช้เลื่อนจอภาพขึ้นลง ครั้งละ 1 หน้าจอภาพ
13. แถบสถานะ (Status Bar) แสดงสถานการณ์ทำงาน หมายเลขหน้าในเอกสาร
14. สโครลบาร์ (Scroll Bar) เลื่อนพื้นที่การทำงานขึ้นลง
15. สโครลบ๊อกซ์ (Scroll Box) ลากเลื่อนขึ้นลงอย่างรวดเร็ว
16. สโครลแอโร่ (Scroll Arrow) คลิกเลื่อนลูกศรเลื่อนขึ้นลงทีละขึ้น
- เตรียมพร้อมก่อนใช้งานโปรแกรมเป็นหัวข้อพิเศษในการจัดรูปแบบให้เหมาะสมก่อนเริ่มใช้งานทั่วไป
การแสดง/ซ่อนสัญลักษณ์
1. เลื่อนเมาส์คลิกที่ปุ่ม ¶
2. จะปรากฏแถบเครื่องหมายย่อหน้าและสัญลักษณ์การจัดรูปแบบอื่น ๆ ที่ซ่อนอยู่
3. คลิกปุ่ม ¶ บนหน้าต่างเอกสารจะแสดงเครื่องหมาย ¶ เป็นการขึ้นย่อหน้าใหม่
4. คลิกปุ่ม ¶ ซ้ำ เครื่องหมาย ¶ ถูกซ่อน
การปรับหน่วยวัดไม้บรรทัด มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกปุ่ม Office
2. คลิกที่ปุ่ม ตัวเลือก Word
3. คลิกที่รายการ ขั้นสูง
4. คลิกที่ลูกศร เลือกหน่วยเป็น นิ้ว
5. คลิกที่ปุ่ม ตกลง
6. สังเกตตัวเลขบนไม้บรรทัดหน้าต่าง Word 2007 แสดงเลข 1 ถึงเลข 6
- การตั้งค่าฟอนต์เริ่มต้นให้เหมาะสมกับการทำงาน มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกปุ่ม ด้านขวา แถบเครื่องมือ (Font)
2. เลือกแบบอักษรข้อความละติน : เลือก Angsana New ลักษณะอักษร : ธรรมดาขนาด : 16
3. คลิกปุ่ม ค่าเริ่มต้น เพื่อครั้งต่อไปเปิดใช้งานไม่ต้องกำหนดฟอนต์ใหม่
4. คลิกปุ่ม ตกลง
- การออกจากโปรแกรม Microsoft Office Word 2007 มีขั้นตอนดังนี้
วิธีที่1 ใช้ปุ่มคอนโทรล
ดับเบิ้ลคลิกที่ปุ่มคอนโทรลบนแถบไตเติ้ลบาร์จะปิดหน้าต่างโปรแกรมทันที
วิธีที่2 ใช้ปุ่มเครื่องมือ
คลิกที่ปุ่ม X (Close) มุมบนด้านขวาของหน้าต่างโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด
วิธีที่3 ใช้ปุ่มคำสั่ง
1. คลิกที่ปุ่ม Office หรือดับเบิ้ลคลิกที่ปุ่มคอนโทรล จะปิดหน้าต่างโปรแกรมทันที
2. คลิกที่ปุ่ม ออกจาก Word มุมล่างด้านขวา

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft Office Word 2007
หน้าแรก (Home) จะปรากฏริบบอนรวมเครื่องมือที่ใช้งานบ่อย ๆ เช่น การจัดหน้า เอกสาร รูปแบบตัวอักษรเป็นต้น


แทรก (Insert) ริบบอนแทรก จะรวมริบบอนเกี่ยวกับการแทรกรูปภาพหรือเลขหน้าลงในเอกสาร แทรกสมการคณิตศาสตร์ เป็นต้น


เค้าโครงหน้ากระดาษ (Page Layout) ริบบอนเค้าโครงหน้ากระดาษ เกี่ยวกับการออกแบบหน้าเอกสาร ชุดรูปแบบเปลี่ยนการออกแบบโดยรวมของเอกสารรวมถึงสี แบบอักษร และลักษณะพิเศษ

การอ้างอิง (References) ริบบอนเกี่ยวกับการจัดหน้าหรือเพิ่มหน้าสารบัญลงในเอกสาร

การส่งจดหมาย (Mailings) ริบบอนเกี่ยวกับสร้างและพิมพ์ซองจดหมาย ป้ายชื่อ และสร้างจดหมายเวียน เป็นต้น

ตรวจทาน (Review) ริบบอนเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสาร เช่น การตรวจคำผิด การใส่ข้อคิดเห็นและการป้องกันเอกสาร
มุมมอง (View) ริบบอนเกี่ยวกับมุมมองการแสดงเอกสารของโปรแกรม Word 2007 เช่น การตั้งค่ามุมมองเอกสาร การย่อหรือขยายเอกสาร หรือการแสดงแมโคร